เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและสามารถแปรรูป และผลิตอาหารจากเห็ดที่เพาะเองได้หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งเลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสม

week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถสามารถ นำเห็ดแต่ละชนิดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และอาหารต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นรับประทานอย่างปลอดภัย อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมกับตนเอง
week
input
Process
output
outcome








8


28 ก.ย.
-
2 ต.ค.
2558
โจทย์
ผู้ผลิตที่ดี
คำถาม :
นักเรียนจะประกอบอาหารที่อร่อย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการให้ผู้อื่นรับประทานอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Key Question คำถามกระตุ้นคิดระหว่างการทำกิจกรรม
- Black Board share ผลิตภัณฑ์และอาหารแปรรูปจากเห็ดนางฟ้าที่เพาะเอง
- wall Thinking ชาร์ตความรู้อาหารปลอดภัย
- Round Robin การประกอบอาหารเพื่อผู้อื่น สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ผ่านมา ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง สิ่งใดที่เป็นความรู้ ความเข้าใจใหม่ หรือสิ่งใดที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม
- Placemat อาหารปลอดภัย
- Show & Share ผลงานและการประกอบอาหารเพื่อให้ผู้อื่นรับประทาน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- วัตถุดิบในการประกอบอาหาร
- คลิปอาหารปลอดภัย

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ผู้ปกครอง

วันจันทร์
ชง :
-นักเรียนชมคลิป “อาหารปลอดภัย” “ อันตรายจากการรับประทานอาหาร” สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ดู
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะประกอบอาหารที่อร่อย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการให้ผู้อื่นรับประทานอย่างไร”
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม และเลือกชั้นเรียนที่จะทำอาหารไปให้รับประทาน(ไม่ซ้ำกัน)
-นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัยและการรับประทานอาหารและเลือกเมนูที่จะทำ
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเมนูที่จะทำให้ผู้อื่นรับประทาน และวาแผนการเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์การประกอบอาหาร
วันอังคา
ชง:
นักเรียนสังเกตศึกษาฉลากอาหารสำเร็จรูป สังเกตวันเดือน ปี ส่วนประกอบในฉลากอาหาร รวมทั้งการเลือกซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารเพิ่มเติม
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและอันตรายจากการรับประทานอาหาร รวมทั้งรูปแบบการนำเสนอเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ใช้:
นักเรียนสรุปเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและอันตรายจากการรับประทานอาหาร (ชาร์ตความรู้)
วันพุธ  
ชง:
นักเรียนนำเสนอผลงานชาร์ตความรู้อาหารปลอดภัยและอันตรายจากการรับประทานอาหาร
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง เกี่ยวกับการเลือกประกอบและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกับตนเองและผู้อื่น
การบ้าน : เตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์การประกอบอาหารจากเห็ดเพื่อให้ผู้อื่นรับประทาน
วันศุกร์
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะประกอบอาหารที่อร่อย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการให้ผู้อื่นรับประทานอย่างไร”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์ คิดอย่างไรเกี่ยวกับการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน เราจะเป็นผู้ประกอบอาหารที่ดีอย่างไร
ใช้:
นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันประกอบอาหารจากเห็ดเมนูต่างแล้วนำไปให้ผู้อื่นรับประทาน
การบ้าน
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ดูคลิปวีดีโอ อาหารปลอดภัย ภัยจากการรับประทานอาหาร
-วิเคราะห์สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และอ่านฉลากอาหาร รวมทั้งการเลือกซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหาร

ชิ้นงาน:
- ประกอบอาหารจากเห็ด (ให้ผู้อื่นรับประทาน)
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้อาหารปลอดภัย (ชาร์ตความรู้)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถสามารถ นำเห็ดแต่ละชนิดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และอาหารต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นรับทาน อย่างปลอดภัย อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเราจากการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน (ทำอาหารเพื่อผู้อื่น)
สร้างทางเลือกในการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อถ่ายทอดหรือสื่อสารได้เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สรุปสิ่งที่เรียนรู้ผ่านชิ้นงานที่หลากหลาย
ออกแบบภาพวาดและรูปแบบของชาร์ตความรู้อาหารปลอดภัย และอันตรายจากการรับประทานอาหาร
 ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอระหว่างการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย อาหารจากเห็ดนางฟ้า คุณค่าทางโภชนาการด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจ การศึกษาค้นคว้าข้อมูล การทำลองทำและการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้ หรือแก้ปัญหาระหว่างการทำงาน
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดกระทำ เพื่อใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่เรียนรู้ หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
- กล้าคิดกล้าทำและมีความสร้างสรรค์เรียนรู้
มีความพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองจนสำเร็จ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้า สิ่งที่เรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน





















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย และอันตรายจากการรับประทานอาหาร ผ่านคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะประกอบอาหารที่อร่อย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการให้ผู้อื่นรับประทานอย่างไร” พี่ๆได้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การเลือกซื้อ เลือกบริโภค และอันตรายจากการรับประทานอาหาร แล้วสรุปสิ่งที่ศึกษาค้นคว้าเป็นชาร์ตความรู้ พี่ๆสามารถใช้คำในการค้นคว้า สามารถทำงานเป็นกระบวนการกลุ่มได้ รับและเคารพผู้อื่นระหว่างการทำกิจกรรม เมื่อพี่ๆสรุปสิ่งที่เรียนรู้แล้วจึงแบ่งกลุ่มโดยการจับฉลากเพื่อวางแผนการประกอบอาหารปลอดภัยให้ผู้อื่นรับประทาน พี่ๆแต่ละกลุ่มวางแผนและศึกษาเมนูอาหารว่างจากเห็ดเพื่อแบ่งปัน (ทำให้ผู้อื่นรับประทาน) แต่ละกลุ่มกระตือรือร้นและตื่นเต้นที่จะได้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน “ครูครับถ้าเป็นน้องอนุบาลน่ะครับน้องกินเผ็ดไม่ได้ เราต้องทำอาหารไม่เผ็ดนะครู” “ครูครับเราทำห้องหนึ่งสองอย่างได้ไหมครับ ผมอยากทำ” พี่ๆแต่กลุ่มได้เมนูอาหารคือ ชั้นอนุบาล 1 เยลลี่เห็ด ชั้นอนุบาล 2 วุ่นเห็ด ชั้น ป.3 เห็ดชุบแป้งทอดราดซอสส้ม ชั้น ป. 4 ซาลาเปาเห็ด ชั้น ป. 5 เห็ดสามรส ชั้น ป. 6 บาบีคิวเห็ด หลังจากพี่ๆได้เมนูแล้วแต่ละกลุ่มจึงศึกษาสูตรและวิธีการทำอาหาร โดยมีครูและผู้ปกครองอาสามาช่วยแนะนำและเรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมสัปดาห์นี้ด้วย

    ตอบลบ