เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและสามารถแปรรูป และผลิตอาหารจากเห็ดที่เพาะเองได้หลากหลาย มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งเลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสม

week1

เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีเป้าหมาย เป็นขั้นตอน และสร้างสรรค์

Week
Input
Process
Output
Outcome





1

10-14
ส.ค.
2558




โจทย์
วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Think Pair Share ชื่อหน่วยการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้วและคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอกบนอกกะลา ตอน หนอนไหมไทย
- เพลงสาวทอผ้า
วันจันทร์
ชง
นักเรียนสำรวจโรงเพาะเห็ด เดินสำรวจเห็ดที่พบในโรงเรียน เก็บตัวอย่างเป็นภาพวาด
เชื่อม
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเห็ดที่เพาะในโรงเพาะ กับเห็ดที่พบในธรรมชาติ(โรงเรียน)
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพส่วนประกอบของเห็ดที่สำรวจ
วันอังคาร
ชง:
- นักเรียนชิมอาหารจากเห็ด (เห็ดที่เพาะในโรงเพาะ )
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกับอาหารจากเห็ดที่ได้ชิม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้” นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้
เชื่อม:
นักเรียนนำเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ทุกคนอยากเรียนรู้
ใช้:
นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้


วันพฤหัสบดี
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 2 แผ่นเขียนสิ่งที่รู้แล้ว-สิ่งที่อยากเรียนรู้นำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาจัดกลุ่มหัวข้อร่วมกันเพื่อนำไปวางแผนปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกัน 
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
ใช้:
 นักเรียนร่วมกันออกแบบตกแต่งปฏิทินการเรียนรู้
วันศุกร์
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (ความสำเร็จ อุปสรรค)
ใช้:
-นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ (เห็ด)
ภาระงาน
- ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับชื่อหน่วยการเรียนรู้
-ออกแบบ และแลกเปลี่ยนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ในปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์

ชิ้นงาน
- วาดภาพตกแต่งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีเป้าหมาย เป็นขั้นตอน และสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนปฏิทินและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
ออกแบบปฏิทิน สรุปแผนภาพความคิดได้อย่างสร้างสรรค์เหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย

ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจ และการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้
นำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้(ปฏิทินการเรียนรู้)
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
- กล้าคิดกล้าทำและมีความสร้างสรรค์เรียนรู้
มีความพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเองจนสำเร็จ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การวางแผนการเรียนรู้ผ่านการออกแบบกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และหลากห




ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน
























1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรู้ พี่ๆได้ไปสำรวจ สังเกต บันทึก แลกเปลี่ยน ทดลองทำ ชิมรสชาติ เพื่อกระตุ้นสร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ ...PBL พี่ๆป.2 พี่ๆทุกคนกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และส่วนใหญ่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเห็ด
    พี่ออย: ถ้าเราเรียนเรื่องเห็ดป่าเราก็ได้ไปตะลุยป่าเห็นเห็ดเห็นสัตว์ต่างๆ
    พี่โชค: เราเรียนเห็ดป่าเราก็จะได้ไปตะลุยป่าลึกลับครับได้ศึกษาธรรมชาติ
    พี่อองฟรอง: เรียนเรื่องเห็ดเพราะจะได้เรียนรู้ธรรมชาติและได้ทำอาหารจากเห็ด....มีพี่ๆที่อยากเรียนรู้เรื่องปลา เรื่องสัตว์ เรื่องธรรมชาติ เรื่องอาหาร ..."พี่ๆคิดว่าเรื่องที่เพื่อนๆอยากเรียนแตกกันจะเรียนร่วมกันอย่างไรได้บ้างคะ"....ทำอาหารจากเห็ดก็ได้ครับ(พี่เมฆ) แกงเห็ดใส่ปลาไงครู (พี่ภูมิ) เอาเห็ดไปยัดในพุงปลาน่ะครับแล้วก็นึ่ง(พี่โซ่) เห็ดก็เป็นเรื่องธรรมชาตินะครู สัตว์อะไรที่ชอบกินเห็ด ต้มยำเห็ด ฯลฯ
    วันศุกร์พี่ๆไปสำรวจเห็ดในป่าโคกหีบ ซึ่งเป็นป่าของชุมชนและอยู่ใกล้กับโรงเรียน โดยมีผู้ปกครองร่วมเดินทางเรียนรู้ด้วย
    พี่โซ่ : ครูครับเห็ดนี่หายากนะครับ ทำไมเราเห็นแต่เห็ดเมา
    พี่ออมสิน : ครูครับทำไมคนเอาขยะมาทิ้งในป่าล่ะครับ
    พี่อลิซท์ : ครูขาตอนที่รอน่ะค่ะหนูได้ปีนเถาวัลย์ด้วย
    พี่โชค : ครูครับผมอยากไปป่าอีก อยากไปป่าที่ลึกลับน่ะครับ ในป่าโคกหีบทำไมไม่เห็นมีสัตว์
    หลังจากที่พี่ๆสำรวจป่าแล้วจึงได้กลับมาช่วยกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “พี่ๆเห็นปัญหาอะไร จากปัญหาที่พบพี่ๆอยากตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น” พี่ช่วยกันและได้ชื่อหน่วยว่า “อาหารจานเห็ดที่ปลอดภัย” เพราะอาหารที่เรากินไม่ค่อยปลอดภัย อยากให้อาหารปลอดสารเคมี ปลอดสารพิษ
    พี่ๆยังไม่ได้เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ยังไม่ได้ออกแบบปฏิทินและกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้ พี่ๆกลับไปคิดต่อเป็นการบ้านและจะนำกลับมาคุยกันในสัปดาห์ต่อไป

    ตอบลบ